|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์
๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลหนองยายพิมพ์
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของอำเภอนางรอง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ สายนางรอง - บุรีรัมย์ ตัดผ่าน อยู่จากที่ว่าการอำเภอนางรอง ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ ๔๓ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลหนองยายพิมพ์ ประกอบด้วย
หมู่ที่ ๑ บ้านหนองยายพิมพ์
หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเสม็ด
หมู่ที่ ๓ บ้านบุตาสุ่ม
หมู่ที่ ๔ บ้านหนองโจด
หมู่ที่ ๕ บ้านหนองยาง
หมู่ที่ ๖ บ้านหนองถนน
หมู่ที่ ๗ บ้านก้านเหลือง
หมู่ที่ ๘ บ้านจาน
หมู่ที่ ๙ บ้านโนนศาลา
หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองตารัก
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ (ปัจจุบันเป็น อบต.ขนาดกลาง)
ที่ตั้ง ๑๑๖ หมู่ที่ ๔ บ้านหนองโจด ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
โทรศัพท์ – ๐๔๔ ๖๖๖ ๔๑๙ , ๐๔๔ ๖๖๖ ๔๒๐
โทรสาร – ๐๔๔ ๖๖๖ ๔๒๐
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ แก้ไขเพิ่มเติม
ภูมิประเภทขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ตั้งอยู่ทางภาคะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ ๖๐% เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร ๓๕ % และมีพื้นที่ส่วนอื่น ๕% มี ๓ ดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียสร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๙๐๐ มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๘ องศา
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๐% ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๕ %
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
- ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ มีจำนวน ๑๐ หมู่บ้านประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ซึ่งประชาชนเลือกตั้ง จำนวน ๒๐ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
- ฝ่ายบริหาร หรือคณะผู้บริหาร ประกอบด้วยนายก อบต. ๑ คน รองนายก ๒ คน คณะผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ตามกฎหมาย
๒.๑ เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลหนองยายพิมพ์ จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ มีพื้นที่ ๕๒.๒๖ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๒,๖๒๒ ไร่ คลุมพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ทั้งตำบล
นับแต่ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ได้ปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่เป็นอย่างดีมาตลอด แม้จะยังไม่มีสำนักงานถาวรในการปฏิบัติงานก็ตาม
ในเบื้องต้นได้ใช้อาคารศูนย์ข้อมูลประจำตำบล ณ บ้านจาน หมู่ที่ ๘ เป็นสำนักงานต่อมาสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์จึงอนุมัติงบประมาณ ตามข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๔ ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ขึ้น ณ อาคารเลขที่ ๑๑๖ หมู่ที่ ๔ บ้านหนองโจด และในข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ เพื่อรองรับการขยายงานขององค์การบริหารส่วนตำบล หนองยายพิมพ์ และได้เปิดใช้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของอำเภอนางรอง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ สายนางรอง - บุรีรัมย์ ตัดผ่าน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนางรอง ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ ๔๓ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
อบต.หนองยายพิมพ์แบ่งเขตการปกครองดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่ง |
|
๑ |
บ้านหนองยายพิมพ์ |
นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง |
กำนัน |
|
๒ |
บ้านหนองเสม็ด |
นายพนม คงพลปาน |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๓ |
บ้านบุตาสุ่ม |
นางวิภา เข็มบุปผา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๔ |
บ้านหนองโจด |
นางสาวปัทวีกานต์ กล้าเกิด |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๕ |
บ้านหนองยาง |
นางนุช ทองทับพันธ์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๖ |
บ้านหนองถนน |
นางมุ่ง จิตทองหลาง |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๗ |
บ้านก้านเหลือง |
นายกันยา อ่างสกุล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๘ |
บ้านจาน |
นายอำนาจ อรชุน |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๙ |
บ้านโนนศาลา |
นายนิรัญ อันทะปัญญา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
๑๐ |
บ้านหนองตารัก |
นายเผนิน พระนารายณ์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงานการช่วยเหลืองาน อบต. เสนอแนะในกิจกรรม ของอบต.ในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาตำบลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๓,๕๐๗ คน
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ๓,๕๐๗ คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ. ๒๕๖๔)
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๒,๗๘๙ คนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๓,๕๐๗ คนคิดเป็นร้อยละ ๗๙.๕๓
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
พื้นที่ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
หมู่ที่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ |
332 |
376 |
708 |
หมู่ที่ 2 บ้านหนองเสม็ด |
291 |
315 |
606 |
หมู่ที่ 3 บ้านบุตาสุ่ม |
206 |
204 |
410 |
หมู่ที่ 4 บ้านหนองโจด |
299 |
294 |
593 |
หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง |
162 |
151 |
313 |
หมู่ที่ 6 บ้านหนองถนน |
92 |
110 |
202 |
หมู่ที่ 7 บ้านก้านเหลือง |
269 |
312 |
581 |
หมู่ที่ 8 บ้านจาน |
322 |
358 |
680 |
หมู่ที่ 9 บ้านโนนศาลา |
164 |
181 |
345 |
หมู่ที่ 10 บ้านหนองตารัก |
230 |
227 |
457 |
รวม |
2,367 |
2,528 |
4,895 |
จำนวนครัวเรือน
พื้นที่ |
จำนวน/หลัง |
หมู่ที่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ |
189 |
หมู่ที่ 2 บ้านหนองเสม็ด |
152 |
หมู่ที่ 3 บ้านบุตาสุ่ม |
119 |
หมู่ที่ 4 บ้านหนองโจด |
135 |
หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง |
75 |
หมู่ที่ 6 บ้านหนองถนน |
64 |
หมู่ที่ 7 บ้านก้านเหลือง |
162 |
หมู่ที่ 8 บ้านจาน |
211 |
หมู่ที่ 9 บ้านโนนศาลา |
115 |
หมู่ที่ 10 บ้านหนองตารัก |
129 |
รวม |
1,351 |
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากร |
หญิง(คน) |
ชาย(คน) |
หมายเหตุ |
จำนวนประชากรเยาวชน |
554 |
455 |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
จำนวนประชากร |
783 |
760 |
อายุต่ำกว่า 18-60 ปี |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
501 |
365 |
อายุมากกว่า 60 ปี |
๔. สภาพทางสังคม
๔.๑ การศึกษา
สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ มีดังนี้
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์
- โรงเรียนบ้านบุตาสุ่ม หนองโจด
- โรงเรียนบ้านก้านเหลือง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
- โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์
๔.๒ สาธารณสุข
หน่วยงานด้านสาธารณสุขมี ๑ แห่ง ได้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยาง
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ อบต.และหน่วยงานสาธารณสุข ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กแรกเกิด - ๖ ปี ผู้ปกครองสามารถ เลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้ไม่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกาย ยังไม่ม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้ อบต.พยายามอย่างยิ่ง ที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล สาธารณสุข จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
๔.๓ อาชญากรรม
อบต.ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนเล็กน้อย ซึ่งอบต. ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของอบต.ที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยกตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางอบต. จะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของอบต. จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรนางรองได้แจ้งให้กับอบต.ทราบนั้นพบว่าในเขตอบต.มีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของอบต.ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของอบต.สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ อบต.ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด และมีศูนย์สงเคราะห์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดป่าอัมพวัน ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์
๔.๕ การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
๔. โครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๕. โครงการออกเยี่ยมบ้านผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๖. ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม
๗. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1๓๐๐ ( OSCC )
๘. ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๙. รับลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ มีถนนสายหลักเพื่อใช้ในการคมนาคมสัญจร คือ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘ (บุรีรัมย์ - นางรอง) ตัดผ่านหน้าที่ทำการองค์การบริหาร
ส่วนตำบลหนองยายพิมพ์
- ทางหลวงชนบท (หนองยายพิมพ์- บ้านหนองขาม) ตัดผ่านหมู่บ้านหนองยายพิมพ์ ,
บ้านหนองเสม็ด
- ทางหลวงชนบท (ทุ่งแหลม- หนองปล่อง) ตัดผ่านหมู่บ้านจาน, บ้านก้านเหลือง,
บ้านหนองตารัก , บ้านหนองถนน , บ้านหนองยาง
- ทางหลวงท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (หนองตาไก้ - หนองถนน) ตัดผ่านหมู่บ้านหนองโจด , บ้านบุตาสุ่ม
- ทางหลวงท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (ก้านเหลือง - หนองงูเหลือม)
นอกจากนี้ยังมีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต ถนนลูกรังและถนนหินคลุกภายในชุมชน / หมู่บ้าน ทำให้ติดต่อ สัญจรไปมาระหว่างตำบล อำเภอ และจังหวัดได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
หมู่ที่ |
ถนน |
|||||||
คอนกรีต(รวม) |
ลาดยาง(รวม) |
ลูกรัง(รวม) |
ดิน |
|||||
สาย |
ระยะทาง(ม.) |
สาย |
ระยะทาง(ม.) |
สาย |
ระยะทาง(ม.) |
สาย |
ระยะทาง(ม.) |
|
หมู่ที่ ๑ |
๕ |
๑,๔๑๓ |
๔ |
๓,๓๑๔ |
๗ |
๖,๙๔๒ |
๒ |
๑,๗๒๗ |
หมู่ที่ ๒ |
๖ |
๑,๕๕๒ |
๒ |
๑,๓๒๙ |
๑๑ |
๖,๘๕๓ |
๑๐ |
๖,๑๓๗ |
หมู่ที่ ๓ |
๑ |
๑๐๐ |
๔ |
๑,๑๒๑ |
๓ |
๑,๕๔๘ |
๖ |
๘,๕๘๙ |
หมู่ที่ ๔ |
๘ |
๒,๕๘๕ |
- |
- |
๕ |
๑๗,๖๐๒ |
๕ |
๕,๗๐๖ |
หมู่ที่ ๕ |
๕ |
๑,๑๘๘ |
- |
- |
๘ |
๒,๕๗๔ |
๕ |
๓,๖๘๘ |
หมู่ที่ ๖ |
๔ |
๖๙๔ |
- |
- |
๘ |
๔,๔๙๑ |
๑ |
๑,๙๐๙ |
หมู่ที่ ๗ |
๕ |
๘๔๘ |
๓ |
๙๔๙ |
๒ |
๒,๐๑๑ |
๒ |
๓,๑๗๗ |
หมู่ที่ ๘ |
๗ |
๓,๘๓๖ |
- |
- |
๔ |
๑๐,๙๕๐ |
๗ |
๗,๗๒๖ |
หมู่ที่ ๙ |
๗ |
๑,๖๙๙ |
๒ |
๕๙๕ |
๒ |
๖๓๒ |
๓ |
๑,๓๘๘ |
หมู่ที่ ๑๐ |
๕ |
๑,๒๙๘ |
๒ |
๑,๘๕๗ |
๑ |
๑,๘๖๗ |
๑ |
๓๓๓ |
รวม |
๕๓ |
๑๕,๒๑๓ |
๑๗ |
๙,๑๖๖ |
๕๑ |
๕,๕๕๗๐ |
๔๒ |
๔๐,๓๘๐ |
๕.๒ การไฟฟ้า
สำหรับการให้บริการประชาชน ด้านการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนางรอง ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล หนองยายพิมพ์รับผิดชอบในการบำรุงรักษาซ่อมแซมและจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์เฉพาะไฟฟ้าสาธารณะเพื่อให้แสงสว่าง ตามถนน ตรอก ซอย เท่านั้น
- จำนวนหลังคาเรือนที่ใช้ไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ประมาณ ๑,๐๐๐หลังคาเรือน
- พื้นที่ที่ได้รับบริการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ร้อยละ ๙๙ ของพื้นที่ทั้งหมด
๕.๓ การประปา
ระบบประปา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ดำเนินการโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำของ หมู่บ้านเป็นระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวน 5 แห่ง คือหมู่ที่ 2,4,7,8,10 และประปาระบบผิวดิน ซึ่งมีจำนวน 4 แห่ง มีหมู่ 1,2,3,4
๕.๔ ระบบประชาสัมพันธ์
พื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์มีระบบเสียงตามสายทุกหมู่บ้าน
- จำนวนหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ๑๐ แห่ง
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
มีไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง ในเขตอำเภอนางรอง ให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์
๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ มีดังนี้
- การเพาะปลูกในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ตำบลมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่น พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผลไม้และพืชผักด้วย
- การเกษตรผสมผสาน ตามหลักทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคกหนองนาโมเดลฯลฯ
๖.๒ การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์มีการทำประมงขนาดเล็กในครัวเรือน เพื่อเป็น
อาหารและการจัดจำหน่าย
๖.๓ การปศุสัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยง
ไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ และฟาร์มหนู
- การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการจำหน่าย
เช่น สุกร ไก่ เป็ด โค กระบือ
๖.๔ การบริการ
มีสถานีขนส่ง ๑ แห่ง อยู่ในเขตอำเภอนางรอง
๖.๕ การท่องเที่ยว
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่เป็นตำบลซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวอำเภอนางรอง คืออ่างเก็บน้ำหนองตาหมู่ และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ สนามแข่งรถช้างอินเตอร์เนชั่นแนล สนามช้าง และร้านคลีนฟาร์ม
๖.๖ อุตสาหกรรม
การประกอบการอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดเล็ก เช่น การทำเครื่องปั้นดินเผา เตาถ่านใช้ในครัวเรือน ของฝากข้าวแต๋น การแปรรูปอาหาร เป็นต้น
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
สถานประกอบการด้านพานิชยกรรม
- โรงเรือนเลี้ยงสุกร ๑ แห่ง
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ ๓ แห่ง
- โรงสีข้าว ๑๖ แห่ง
- ร้านค้า/สหกรณ์ ๔๓ แห่ง
- ร้านซ่อมรถ ๕ ร้าน
- ร้านวัสดุก่อสร้าง ๓ ร้าน
- ร้านบริการ อินเตอร์เน็ต ๑ ร้าน
- บ้านเช่า ๑ หลัง
- ร้านเสริมสวย ๑ ร้าน
- เครื่องปั้นดินเผา ๒ แห่ง
- ปั้มน้ำมัน ๑ แห่ง
๖.๘ แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – 50 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่
ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๗.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์นับถือศาสนาพุทธ และมีวัด / สำนักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้
ประเภท |
จำนวน |
ชื่อ |
สถานที่ตั้ง |
๑.วัด
๒. สำนักสงฆ์ (ยังไม่ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวัด)
|
3 แห่ง
4 แห่ง
|
๑.วัดบ้านหนองยายพิมพ์ ๒.วัดศรัทธาประชาบูรณะ 3.วัดป่าจานโคกสมบูรณ์ - ตาอิ่ม
1.สำนักสงฆ์บ้านหนองโจด 2.สำนักสงฆ์ป่าอัมพวันคุณานุสรณ์ 3.ที่พักสงฆ์วัดป่ามหาวัน 4.ที่พักสงฆ์บ้านหนองเสม็ดปรือ
|
หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘
หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๙
หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๒ |
๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี
ก. ประเพณีสงกรานต์ วันที่ ๑๒ - ๑๓ เมษายน ของทุกปี นำประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
ข. ประเพณีลอยกระทง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ สนับสนุนส่งเสริมหมู่บ้านจัดงานประเพณีลอยกระทงของหมู่บ้าน
ค. ประเพณีบุญบั้งไฟประจำถิ่น จัดเป็นประจำทุกปีช่วงระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคม
๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักรสานใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์มีภาษาถิ่นหลากหลายที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่นภาษาถิ่นไทยนางรอง (ไทยเดิ้ง) ซึ่งมีสำเนียงคล้ายภาษาถิ่นไทยโคราช นอกนั้นเป็นภาษาถิ่นไทยอีสาน เขมร ส่วย ปนอยู่บ้างเล็กน้อย
๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขต อบต.หนองยายพิมพ์ ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ่ายและผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ ผลิตผลจากทางการเกษตร และอาหารแปรรูปต่างๆ
๘. ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.๑ น้ำ
น้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำที่ซื้อจากโรงผลิตน้ำดื่ม ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา มีการนำน้ำใต้ดินมาเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคได้
๘.๒ ป่าไม้
ในเขต อบต.เป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม่รกทึบ มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม้เด่นเป็นไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ
๘.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ของ อบต.ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศ ที่ไม่มีมลพิษ น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถ หาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น